อสุจิน้อย รักษาอย่างไรให้กลับมาเหมือนเดิม
อสุจิน้อย อีกหนึ่งปัญหาที่หนักใจของผู้ชายที่กำลังวางแผนจะสร้างครอบครัว และต้องการอยากมีลูก แต่ดันมาเจอกับปัญหาการ มีบุตรยาก เพราะเนื่องจากว่าในน้ำเชื้อของตัวเองนั้นมีจำนวนอสุจิน้อยกว่าที่ควร ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุสำคัญเลยเพราะตัวอสุจินั้นมีผลเป็นอย่างมากต่อการตั้งครรภ์ของผู้หญิง
ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพต่างๆ และพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่างของคุณผู้ชายเอง ทีนี้เมื่อคุณรู้ว่าตัวเองมีภาวะอสุจิน้อย เราก็ต้องมาดูกันครับว่า ภาวะนี้เกิดจากอะไร และรักษาอย่างไรให้กลับมาเหมือนเดิมได้บ้าง
สำหรับคนที่ยังสงสัยต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ปกติแล้วในน้ำอสุจิของผู้ชายจะประกอบด้วย น้ำเชื้อ และสเปิร์ม หรือตัวอสุจิ นั่นแหละครับ ซึ่งในการหลั่งของผู้ชายแต่ละครั้ง โดยปกติควรจะมีตัวอสุจิในน้ำเชื้ออยู่ที่ 15-20 ล้านตัวต่อน้ำเชื้อหนึ่งมิลลิลิตร แต่สำหรับคนที่มีภาวะอสุจิน้อย ก็คือ ตัวอสุจิในน้ำเชื้อที่หลั่งออกมาแต่ละครั้งนั้นมีจำนวนน้อยกว่าปกติ หรือน้อยกว่า 15 ล้านตัวต่อน้ำเชื้อหนึ่งมิลลิลิตร นั่นเองครับ
สารบัญของบทความนี้
สาเหตุอะไร ที่ทำให้อสุจิน้อยลง ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลกระทบ ?
ก็ต้องบอกว่าสาเหตุของปัญหาเหล่านี้ อาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกันครับ ซึ่งแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป ดังนี้
- มีภาวะหลอดเลือดดำอัณฑะขอด เป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดของภาวะเป็นหมันในเพศชาย เนื่องจากหลอดเลือดดำอัณฑะขอดทำให้คุณภาพของอสุจิลดลง
- ความผิดปกติในโครโมโซมโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคไคลน์เฟลเตอร์ โรคซีสติก ไฟโบรซิส โรคคัลล์มานน์ หรือภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการเป็นหมัน
- อาการบวมของเส้นเลือดบริเวณอัณฑะ ปัญหาอาการบวมของเส้นเลือดในบริเวณอัณฑะ อาจเป็นสาเหตุหลักของภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย ถึงแม้จะยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัดเกี่ยวกับการลดลงของจำนวนอสุจิ แต่ก็อาจมีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบการผลิตอสุจิ ส่งผลให้การผลิตอสุจิมีปริมาณลดลง และหลั่งน้ำอสุจิน้อย
- การติดเชื้อ การติดเชื้อบางอย่าง เช่น การอักเสบของท่อนำอสุจิ การอักเสบของอัณฑะ การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตอสุจิ และปิดกั้นทางเดินน้ำอสุจิ ส่งผลให้หลั่งน้ำอสุจิน้อยลง รวมถึงยังอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพทางเพศได้อย่างถาวร หากไม่ได้รับรักษาจากคุณหมออย่างทันท่วงที
- ผลข้างเคียงของการผ่าตัด ปัญหาอสุจิน้อย อาจเกิดขึ้นได้จากการเข้ารับการผ่าตัดในบริเวณใกล้เคียงกับอวัยวะทางเพศ เช่น การผ่าตัดไส้เลื่อนที่ขาหนีบ การผ่าตัดต่อมลูกหมาก การผ่าตัดช่องท้องขนาดใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตอสุจิ หรือปิดกั้นท่อนำส่งอสุจิ
- การใช้ยาบางชนิด ไม่ว่าจะเป็นยาปฏิชีวนะ ยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร ยาคลายกล้ามเนื้อ ยารักษาโรคทางจิตเภท ยากล่อมประสาท อาจส่งผลข้างเคียงทำให้การผลิตอสุจิลดลง และลดภาวะเจริญพันธุ์ได้ในอนาคต ดังนั้น ก่อนการใช้ยาใดๆ ควรปรึกษาหมอเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาในระยะยาวเสียก่อน เพื่อให้หมอจ่ายยาที่เหมาะสม และได้รับผลกระทบน้อยที่สุดมาให้
การวินิจฉัยหาสาเหตุ ของภาวะ อสุจิน้อย
แน่นอนครับว่าก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนการรักษาที่ถูกต้อง หมอก็จำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุกันก่อนว่า เกิดมาจากปัญหาตรงไหนหรือปัจจัยเสี่ยงอะไรที่ส่งผลให้คุณผู้ชายนั้นมีจำนวน อสุจิน้อย โดยการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ รวมถึงการทดสอบบางอย่างเพื่อหาสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นไปได้ ดังนี้
- การตรวจร่างกายทั่วไปและประวัติการรักษา รวมถึงตรวจสอบอวัยวะเพศ และการสอบถามคำถามเกี่ยวกับโรคทางกรรมพันธุ์ โรคเรื้อรัง ความเจ็บป่วย อาการบาดเจ็บ หรือการผ่าตัดที่อาจส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ คุณหมออาจถามเรื่องรสนิยมทางเพศ และพัฒนาการทางเพศอีกด้วย
- การวิเคราะห์น้ำอสุจิ ภาวะจำนวนอสุจิน้อย โดยทั่วไปจะตรวจสอบด้วยการส่องน้ำอสุจิผ่านกล้องจุลทรรศน์ เพื่อส่องดูจำนวนตัวอสุจิในช่องสี่เหลี่ยมรูปทรงตาราง แต่ในบางกรณี อาจต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการช่วยนับจำนวนอสุจิ
- การทดสอบฮอร์โมน คุณหมออาจแนะนำให้ได้รับการตรวจเลือด เพื่อตรวจหาระดับฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นโดยต่อมใต้สมองและอัณฑะ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของพัฒนาการทางเพศ และการผลิตน้ำอสุจิ
- การทดสอบปัสสาวะหลังการหลั่งน้ำเชื้อ อสุจิในปัสสาวะสามารถบ่งชี้ได้ว่า น้ำอสุจิมีการลำเลียงสวนเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะแทนที่จะออกจากองคชาตในระหว่างการหลั่งน้ำอสุจิหรือไม่
- การตรวจชิ้นเนื้ออัณฑะ การทดสอบนี้ต้องมีการตัดชิ้นเนื้อจากอัณฑะด้วยเข็ม ผลของการตรวจชิ้นเนื้ออัณฑะสามารถบอกได้ว่าการผลิตน้ำอสุจินั้นเป็นปกติหรือไม่ หากเป็นปกติ ปัญหาอาจเกิดจากการอุดตันหรือ ปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการนำส่งอสุจิ
ปัญหาอสุจิน้อย รักษาได้อย่างไร
- การผ่าตัดเช่น โรคหลอดเลือดดำอัณฑะขอดอาจผ่าตัดให้เป็นปกติได้ หรือการซ่อมแซมท่อนำส่งอสุจิที่อุดตัน การทำหมันผูกก่อนหน้านี้ก็สามารถแก้ไขได้ ในกรณีที่ไม่มีอสุจิอยู่ในน้ำกามเลย อาจเก็บอสุจิจากอัณฑะหรือท่อเก็บอสุจิได้โดยตรง โดยใช้เทคนิคการเก็บอสุจิโดยเฉพาะ
- การใช้ยาต่างๆหมออาจแนะนำการรับประทานยาบางชนิด เช่น บรอมเฟนิรามีน เอฟิดรีน อิมิพรามีน และไซโปรเฮปทาดีน
- การรักษาอาการติดเชื้อยาปฏิชีวนะสามารถรักษาการติดเชื้อของระบบการสืบพันธุ์ได้ แต่ไม่อาจสามารถรักษาภาวการณ์เจริญพันธุ์ได้
- การรักษาฮอร์โมน หมออาจแนะนำให้มีการทดแทนฮอร์โมนกรณีที่มีสาเหตุจากอาการฮอร์โมนต่ำหรือสูง หรือมีปัญหาในการใช้ฮอร์โมนของร่างกาย
- การรักษาปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ซึ่งจากตัวอย่างการให้คำปรึกษาหลายๆเคส พบว่าปัญหาด้านการเจริญพันธุ์ที่พบในอาการต่างๆ นั้นอาจรักษาได้ เช่น การไม่แข็งตัว การหลั่งเร็ว
เคล็ดลับการเพิ่มจำนวนอสุจิ
นอกจากการรักษาในทางการแพทย์แล้ว หมอก็อยากแนะนำเคล็ดลับที่จะช่วยเพิ่มจำนวนตัวอสุจิหรือการผลิตอสุจิที่แข็งแรงขึ้น หมดปัญหาเรื่อง อสุจิน้อย ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่างให้ดีขึ้น ดังนี้
- พักผ่อนให้เพียงพอ ควรพักผ่อนอย่างน้อย 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
- ออกกำลังกายให้พอดี ไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไป ก็จะช่วยลดความเครียดและช่วยลดฮอร์โมนจากความเครียดที่สามารถทำลายอสุจิได้
- งดการสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์ เพราะสิ่งเหล่านี้ส่งผลเสียต่อร่างกายอยู่แล้ว จึงไม่ควรสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป จะเป็นผลต่อการสร้างอสุจิด้วย
- รับประทานวิตามินซี หรืออาหารที่เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ อย่างเช่น วิตามินซีและวิตามินอี ที่เป็นตัวส่งเสริมให้ตัวอสุจิมีความแข็งแรง ช่วยให้ตัวอสุจิมีการเคลื่อนไหวได้ดี
- 5.รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ควรทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ทานผักให้มากขึ้นเพิ่มปริมาณธัญพืชไม่ขัดสี และพยายามหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์
สรุป
ภาวะที่เกิดขึ้นกับผู้ชายบางกลุ่ม หรือ ภาวะ อสุจิน้อย นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายหลากสาเหตุด้วยกัน ซึ่งแต่ละสาเหตุนั้นก็จะสามารถรักษาให้กลับมาเหมือนเดิมได้หากคุณเข้ารับการรักษาอาการ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งหากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจส่งผลให้ไม่สามารถมีบุตรได้ เพราะฉะนั้นหากมีปัญหาแล้วนิ่วนอนใจไม่ยอมมารับการรักษาอาจส่งผล เสียให้กับตัวคนไข้เองได้ อสุจิน้อย รักษาได้ครับ โดยหมอเบียร์
รับคำปรึกษาเบื้องต้น กับ “หมอเบียร์” ฟรี
สอบถามข้อมูลการรักษาและบริการเพิ่มเติม นัดหมายล่วงหน้า การเดินทางมาคลินิก
LINE:@ETERNITYCLINIC2
Facebook:@Eternityclinicthai
นพ.สืบพงษ์ เอ่งฉ้วน “หมอเบียร์”
ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์เพศชาย (Urologist)
ศัลยกรรมทั่วไป (General surgeon)
โรคเริม สาเหตุเกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร รักษาได้หรือไม่ ?
โรคเริม คืออะไรกันแน่ ? สังเหตุอาการเพื่อป้องกันและรักษ
อัณฑะไม่เท่ากัน มีอาการปวด เกิดจากอะไรได้บ้าง รักษาอย่างไร ?
อัณฑะไม่เท่ากัน เกิดจากอะไร ผิดปกติหรือไม่ อัณฑะไม่เท่า
อารมณ์ทางเพศ สิ่งที่กระตุ้นและวิธีลดความต้องการลง มีวิธีใดบ้าง
อารมณ์ทางเพศ วิธีลดความต้องการลงและการรับมือเมื่อเกิดขึ